การทำนา
เป็นวิธีการทำนาที่มีการนำเมล็ดข้าวไปเพาะในแปลงที่เตรียมไว้ (แปลงกล้า)ให้งอกเป็นต้นกล้า แล้วถอน นำต้นกล้าไปปักลงในกระทงนา ที่เตรียมเอาไว้ และมีการดูแลรักษาจนให้ผลผลิตการทำนาดำนิยมให้พื้นที่ที่ มีแรงงานเพียงพอ การปลูกข้าวแบ่งออกได้ 3 วิธี ด้วยกัน ดังนี้
ขั้นตอนและวิธีการปลูกข้าวนาดำ
การเตรียมดิน
การไถนา คือ การใช้สัตว์หรือเครื่องยนต์ลากคันไถเพื่อพลิกหน้าดิน เสมือนเป็นการพรวนดินก่อนที่เราจะปลูกต้นไม้นั่นเอง ถ้าใช้สัตว์ในประเทศไทยจะนิยมใช้ควายในการลากคันไถต่างประเทศมักนิยมใช้ม้าหรือวัวถ้าเป็นการไถนาด้วยเครื่องยนต์ก็จะมีวิวัฒนาการของเครื่องยนต์ไปตามยุคตามสมัยการไถนายังสามารถแบ่งได้อีก 3 ขั้นตอนดังนี้
1. การไถดะ เป็นการไถครั้งแรกตามแนวยาวของพื้นที่นา การไถดะจะช่วยพลิกดินเพื่อให้ดินชั้นล่างได้ขึ้นมาสัมผัสอากาศรับออกซิเจนและเป็นการตากดินเพื่อทำลายวัชพืช โรคพืชบางชนิด การไถดะในบางพื้นที่จะไถหลังฝนตกเมื่อดินเกิดความชุ่มชื่น บางพื้นที่ใช้การวิดน้ำเข้านาแท การปล่อยน้ำเข้านานั้นต้องดูที่สภาพดินด้วยว่าควรปล่อยน้ำมากน้อยเพียงไรการปล่อยน้ำเข้าน เพื่อทำให้ดินนิ่มขึ้น จะได้ไถนาได้ง่ายขึ้น หลังจากไถดะจะตากดินเอาไว้ประมาณ 1 - 2 สัปดาห์
2.การไถแปร (อาจเรียกว่า การตีนา) หลังจากที่ตากดินเอาไว้พอสมควรแล้วการไถแปรจะช่วยพลิกดินที่กลบไว้เอาขึ้นมาอีกครั้งเพื่อทำลายวัชพืชที่ขึ้นใหม่และเป็นการย่อยดินให้มีขนาดเล็กลงจำนวนครั้งของการไถแปรจึงขึ้นอยูกับชนิดและปริมาณของวัชพืชลักษณะดินและระดับน้ำ
3.การคราด เพื่อเอาเศษวัชพืชออกจากกระทงนาและย่อยดินให้มีขนาดเล็กลงอีกจนเหมาะแก่การเจริญของข้าว ทั้งยังเป็นการปรับระดับพื้นที่ให้มีความสมํ่าเสมอ เพื่อสะดวกในการควบคุม ดูแลการให้นํ้า (ในบางพื้นที่การไถแปร และ การคราด จะอยู่ในขั้นตอนเดียวกัน)
การเตรียมเมล็ดพันธุ์
ที่ใช้ตกกล้าต้องเป็นเมล็ดพันธุ์ที่บริสุทธิ์ปราศจากสิ่งเจือปนมีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูง (ไม่ต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์) ปราศจากการทำลาย
การแช่และหุ้มเมล็ดพันธุ์
นำเมล็ดข้าวที่ได้เตรียมไว้บรรจุในภาชนะ นำไปแช่ในน้ำสะอาด นานประมาณ 12-24 ชั่วโมง จากนั้นนำเมล็ดพันธุ์ขึ้นมาวางบนพื้นที่น้ำไม่ขังและมี การถ่ายเทของอากาศดี นำกระสอบป่านชุบน้ำจนชุ่มมาหุ้มเมล็ดพันธุ์โดยรอบ รดน้ำทุกเช้าและเย็น เพื่อรักษาความชุ่มชื้น หุ้มเมล็ดพันธุ์ไว้นานประมาณ30-48 ชั่วโมง เมล็ดข้าวจะงอกขนาด “ตุ่มตา (มียอดและรากเล็กน้อยโดยรากจะยาวกว่ายอด) พร้อมที่จะนำไปหว่านได้
การตกกล้า
การตกกล้ามีหลายวิธีการ ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและวัตถุประสงค์
1. การตกกล้าในสภาพเปียก หรือการตกกล้าเทือก
2. การตกกล้าในสภาพดินแห้ง
3. การตกกล้าใช้กับเครื่องปักดำข้าว
การปักดำ
การปักดำ เมื่อต้นกล้ามีอายุประมาณ๒๕-๓๐วันจากการตกกล้าในดินเปียก หรือกตกกล้าในดินแห้ง ก็ จะโตพอที่จะถอนเอาไปปักดำได้ขั้นแรกให้ถอนต้นกล้าขึ้นมาจากแปลงแล้วมัดรวมกัน เป็นมัด ๆ ถ้าต้นกล้าสูงมากก็ให้ตัดปลายใบทิ้งสำหรับต้นกล้าที่ได้มาจากการตกกล้าในดินเปียกจะต้องสลัด เอาดินโคลนที่รากออกเสียด้วยแล้วเอาไปปักดำในพื้นที่นาที่ได้เตรียมไว้ การปักดำจะต้องปักดำ ให้เป็นแถวเป็นแนวและมีระยะห่างระหว่างกอมากพอสมควรโดยทั่วไปแล้วการปักดำมักใช้ต้นกล้า จำนวน ๓-๔ ต้นต่อกอ
การดูแลรักษาต้นข้าว
ในระหว่างการเจริญเติบโตของต้นข้าวตั้งแต่ การปักดำต้นข้าวต้องการน้ำและปุ๋ยสำหรับการเจริญเติบโตในระยะนี้ต้นข้าวอาจถูกโรคและแมลงศัตรูข้าวหลายชนิดเข้ามาทำลายต้นข้าว ผู้ปลูกจะต้องหมั่นออกไปตรวจดูต้นข้าวที่ปลูกไว้เสมอ ๆโดยแปลงกล้าและแปลงปักดำจะต้องมีการใส่ปุ๋ยมีน้ำเพียงพอกับความ ต้องการของต้นข้าว และพ่นยาเคมีป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูข้าว นอกจากนี้ชาวนาจะต้องหมั่นกำจัดวัชพืช ในแปลงปักดำอีกด้วย เพราะวัชพืชเป็นตัวที่แย่งปุ๋ยไปจากต้นข้าว
การเก็บเกี่ยวข้าว
เมื่อดอกข้าวได้บานและมีการผสมเกสรแล้วหนึ่งสัปดาห์ก็จะเริ่มเป็นแป้งเหลวสีขาว สัปดาห์ที่สอง แป้งเหลวนั้นก็จะแห้งกลายเป็นแป้งค่อนข้างแข็งสัปดาห์ที่สามแป้งก็จะแข็งตัวมากยิ่งขึ้นเป็นรูปร่างของ เมล็ดข้าวกล้อง สัปดาห์ที่สี่นับจากวันที่ผสมเกสรจึงเป็นที่เชื่อถือได้ว่าเมล็ดข้าวแก่พร้อมเก็บเกี่ยวออกดอกแล้วประมาณ 28-30 วัน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะใช้เคียวสำหรับเกี่ยวข้าวทีละหลายๆรวงเคียวที่ใช้เกี่ยวข้าวมีอยู่ ๒ ชนิด ได้แก่
1. เคียวนาสวนเมือง เคียวนาสวนเป็นเคียววงกว้างใช้สำหรับเกี่ยวข้าวนาสวนซึ่งได้ปลูกไว้แบบปักดำ
2. เคียวนาเมือง เป็นเคียววงแคบและมีด้ามยาวกว่าเคียวนาสวนเคียวนาเมืองใช้เกี่ยวข้าวนาเมืองซึ่งได้ปลูกไว้แบบหว่านข้าวที่เกี่ยวแล้วจะกองทิ้งไว้บนพื้นที่นาเป็นรูปต่าง ๆ กัน เวลา ๕-๗ วัน แล้วจึงขนมาที่ ลานสำหรับนวดข้าว ที่นวดแล้วจะถูกขนย้ายไปเก็บไว้ในยุ้งฉางหรือส่งไปขายที่โรงสีทันทีก็ได้
2. เคียวนาเมือง เป็นเคียววงแคบและมีด้ามยาวกว่าเคียวนาสวนเคียวนาเมืองใช้เกี่ยวข้าวนาเมืองซึ่งได้ปลูกไว้แบบหว่านข้าวที่เกี่ยวแล้วจะกองทิ้งไว้บนพื้นที่นาเป็นรูปต่าง ๆ กัน เวลา ๕-๗ วัน แล้วจึงขนมาที่ ลานสำหรับนวดข้าว ที่นวดแล้วจะถูกขนย้ายไปเก็บไว้ในยุ้งฉางหรือส่งไปขายที่โรงสีทันทีก็ได้
การนวดข้าว
การนวดข้าว หมายถึง การเอาเมล็ดข้าวออกจากรวงขั้นแรกจะต้องขนข้าวที่เกี่ยวจากนา ไปกองไว้บนลานสำหรับนวด การกองข้าวสำหรับนวดก็มีหลายวิธี แต่หลักสำคัญมีอยู่ว่าการกองจะต้องเป็นระเบียบถ้ากองไม่เป็นระเบียบมัดข้าวจะอยู่สูง ๆ ต่ำ ๆ ทำให้เมล็ดข้าวได้รับความเสียหายและ คุณภาพต่ำปกติชาวนามักจะนวดข้าวหลังจากที่ได้ตากข้าวให้แห้งเป็นเวลา ๕-๗ วัน การนวดข้าวก็ใช้แรงสัตว์ เช่นวัว ควายขึ้นไปเหยียบย่ำเพื่อขยี้ให้เมล็ดหลุดออกจากรวงข้าวเรียกว่า ฟางข้าวที่กล่าวนี้เป็นวิธีหนึ่งของการนวดข้าวซึ่งที่จริงแล้วการนวดข้าวมีหลายวิธี เช่น การนวดแบบฟาดกำข้าวการนวดแบบใช้คำย่ำ การนวดแบบใช้ควายย่ำการนวดโดยใช้เครื่องทุ่นแรงย่ำ
เพื่อรักษาคุณภาพเมล็ดข้าวให้ได้มาตรฐานอยู่เป็นเวลานานๆหลังจากนวดและทำความสะอาดเมล็ดแล้วจึง จำเป็นต้องเอาข้าวเปลือกไปตากอีกครั้งหนึ่ง ก่อนที่จะเอาไปเก็บไว้ในยุ้งฉาง การตากข้าวในระยะนี้ควรตาก บนลานที่สามารถแผ่กระจายเมล็ดข้าวให้ได้รับแสงแดดโดยทั่วถึงกัน และควรตากไว้นานประมาณ ๓-๔ แดด เพื่อลดความชื้นในเมล็ดโดยให้เมล็ดข้าวผ่านอากาศร้อน การตากข้าว
การเก็บรักษาข้าว
หลังจากชาวนาได้ตากเมล็ดข้าวจนแห้งและมีความชื้นในเมล็ดแล้ว นั้นชาวนาก็จะเก็บข้าวไว้ในยุ้งฉาง เพื่อ ไว้บริโภคและแบ่งขาย เมื่อข้าวมีราคาสูงและอีกส่วนหนึ่งชาวนาจะแบ่งไว้ทำพันธุ์ ฉะนั้นข้าวพวกนี้จะต้องเก็บไว้เป็นอย่างดีโดยรักษาให้ข้าวนั้นมีคุณภาพได้มาตรฐานอยู่ตลอดเวลาและไม่สูญเสียความงอกข้าวพวกนี้ ควรเก็บไว้ในยุ้งฉางที่ดี ซึ่งทำด้วยไม้ยกพื้นสูงอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อจะได้ระบายความชื้นและความร้อนออกไปจากยุ้งฉาง นอกจากนี้หลังคาของฉางจะต้องไม่รั่วและสามารถกันน้ำฝนไม่ให้หยดลงไปในฉางได้ก่อนเอาข้าวขึ้นไปเก็บไว้ในยุ้งฉางจำเป็นต้องทำความสะอาดฉางเสียก่อนโดยปัดกวาดแล้วพ่นด้วยยาฆ่าแมลง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น