วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558

การปลูกดอกซัลเวีย

การปลูกดอกซัลเวีย




การดูแล


    ควรเด็ดยอดเมื่อต้นมีปริมาณข้อ 3-4 ข้อ เพื่อให้พุ่มสวย ถ้าดอกโทรมให้เด็ดทิ้ง อากาศเย็นจะให้คุณภาพดอกดีที่สุด

วิธีการเพาะเมล็ด

       เทวัสดุเพาะเกรดเอของบริษัท เอ เอฟ เอ็ม ลงในถาดเพาะ หรือตะกร้าเพาะเมล็ด ใช้นิ้วกดวัสดุเพาะเมล็ด ให้หลุมขนาดเล็กประมาณ 0.5 ซม. หยอดเมล็ดลงหลุม แล้วกลบเมล็ดด้วยวัสดุเพาะบางๆ รดน้ำทุกวันพอชุ่ม เมื่อเมล็ดงอกนำไปวางในที่ร่มรำไร เมื่อต้นกล้ามีใบจริง 1 คู่ ควรให้แสงเต็มที่ เมื่อต้นกล้าโตขึ้นมีใบจริง 2-3 คู่ ควรย้ายปลูกลงแปลง


เลี้ยงวัว

การเลี้ยงวัว


1. เอาวัวออกจากคอก


2. ผูกวัวไว้ที่ทุ่งนาให้วัวกินหญ้า





3. พอค่ำก็เอาวัวเข้าคอก




วันพุธที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2558

การเลี้ยงไก่ไข่

การเลี้ยงไก่ไข่


1. การเลือกแม่ไก่ไข่

      การเลือกแม่ไก่ที่จะทำหน้าทีผลิตไข่ทองคำให้เรานั้นมีอยู่ 2 แบบใหญ่ๆด้วยกันนั้นก็คือ การเลี้ยงลูกไก่ และการเลี้ยงไก่ที่โตเตรียมฟักไข่แล้ว


1.1 การเลี้ยงลูกไก่ 

      เป็นวิธีแรกๆที่ชาวเกษตรกรเลือกทำกันเพราะเป็นวิธีที่ลงทุนน้อย แต่เชื่อเถอะครับถ้าหากว่าคุณยังไม่มีความรู้มากเพียงพอละก็ วิธีนี้เป็นวิธีที่เสี่ยงอย่างมาก ไหนจะลูกไก่ตาย ไหนจะโรคระบาด ซึ่งเกิดได้ง่ายในลูกไก่ซะด้วย ต้นทุนโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 30-35 บาทต่อตัว
1.2 การเลี้ยงไก่วัยสาว
        ถ้าหากเกษตรกรมีเงินลงทุนที่นาพอละก็ผมขอแนะนำวิธีนี้ครับเพราะความเสี่้ยงต่ำ ให้ผลตอบแทนเร็ว  ต้นทุนโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 80-100 บาทต่อตัว

2. โรงเรือน

     ในการสร้างโรงเรือนเลี้ยงแม่ไก่ไข่ ขนาดกลางนั้นใช้ต้นทุนอยู่ที่ประมาณ 50,000-200,000 บาท แต่ถ้าหากเกษตรกรยังไม่กล้าที่จะลงทุนในจำนวนเงินขนาดนี้ ก็อาจใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในการทำโรงเรือนเลี้ยงไก่ก็ได้ แต่ต้องมั่นใจว่าถูกสุขลักษณะด้วย

3. อุปกรณ์การเลี้ยง

       ไม่ว่าจะเป็นชั้นฟักไข่ รังไข่ รางน้ำ รางอาหาร ต้นทุนเฉลี่ยอยู่ที่ 30,000-50,000 เกษตรกรสามารถใช้สิ่งของเหลือใช้ในครัวเรือนแทนก็ได้ครับ จะช่วยลดต้นทุนได้มากพอสมควร

4. อาหารไก่
 

    ไข่ไข่จำเป็นต้องได้รับสารอาหารที่มากเพียงพอที่จะทำให้ออกไข่ได้อย่างสมบูรณ์ ราคาค่าอาหารไก่สำเร็จรูปอยูที่ประมาณ กก. 5 บาท


ขอขอบคุณข้อมูลจาก : www.farmthailand.com/136


การเลี้ยงควาย

การเลี้ยงควาย


การเลี้ยงควาย จำแนกได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ แบบแรก ได้แก่ การเลี้ยงควายเพื่อใช้แรงงาน การเลี้ยงแบบนี้เป็น
การเลี้ยงที่ดำเนินกันทั่วไปในเมืองไทย อันได้แก่ การเลี้ยงควายเพื่อเป็นส่วนประกอบของการทำไร่ทำนา โดยมิได้มุ่งเลี้ยงเป็นการค้าโดยเฉพาะ การเลี้ยงเป็นไปแบบตามมีตามเกิด โดยมิต้องอาศัยวิชาการเข้าช่วยมากนัก อาศัยธรรมชาติเป็นเครื่องอำนวยการเลี้ยง การเลี้ยงควายแบบนี้จึง เรียกว่า การเลี้ยงแบบธรรมชาติ การเลี้ยงควายอีกแบบหนึ่ง คือ การเลี้ยงแบบการค้า ซึ่งยังเลี้ยงกันเป็นส่วนน้อยในเมืองไทย การเลี้ยงแบบนี้ อาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้าช่วยเป็นอย่างมาก เพื่อมุ่งให้ได้กำไรมากที่สุดจากกิจการการเลี้ยวควายนั้น การเลี้ยงควายแบบนี้ จึงเรียกได้ว่า เป็นการเลี้ยงแบบอุตสาหกรรมโดยมุงให้ได้ผลผลิต คือ เนื้อมากที่สุดต่อหนึ่งหน่วยของสิ่งที่ลงทุน การเลี้ยงแบบอุตสาหกรรมจึงต้องคำนึงถึง
ปัจจัยสำคัญ 4 ประการ คือ
1. การดูแลจัดการ ได้แก่ การจัดสภาพและความเป็นอยู่ขอควาย ให้อยู่ในสภาพที่ดี ให้ผลสูงแต่ต้นทุนต่ำ การดูแลนี้ครอบคลุม
ถึงการจัดโรงเรือน การปรนนิบัติต่อสัตว์ การควบคุมอุณหภูมิในโรงเรือนและความชื้น การดูแลรักษาความสะอาดเพื่อให้เหมาะสมแก่การ
ขยายพันธุ์ การเจริญเติบโตจนการให้ผลผลิตของควาย
2. อาหารและการให้อาหาร ผู้เลี้ยงจะแสวงหาอาหารที่มีคุณภาพในราคาที่พอสมควรมาใช้เลี้ยงควาย โดยมุ่งให้ได้ผลผลิตและ
กำไรสูง ทั้งนี้จะได้พิจารณารวมถึงวิธีการให้อาหารที่เหมาะสมเพียงพอและประหยัด
3. พันธุ์และการผสมพันธุ์ ผู้เลี้ยงจะพิจารณาเลือกเลี้ยงพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง แต่เลี้ยงง่ายตามสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น ยิ่งกว่า
นั้นผู้เลี้ยงจะเลือกใช้วิธีการผสมพันธุ์ ที่เหมาะสมตามวัตถุประสงค์ของการผลิตว่าเป็นการผลิตพันธุ์แท้ การผลิตเพื่อขุน และการพยายามปรับ
ปรุงคุณภาพของการเลี้ยงให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ
4. การป้องกันโรค ได้แก่ การวางมาตรการอันเหมาะสมในการป้องกันโรค และการดูแลรักษาสุขภาพสัตว์ เพื่อให้สัตว์สามารถ
ผลิตผลได้สูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ระบบการเลี้ยงควายแบบอุตสาหกรรมอาจจำแนกได้เป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้ คือ
การเลี้ยงควาย ได้แก่ การเลี้ยงแบบทำไร่ปศุสัตว์ การเลี้ยงต้อนในทุ่ง และการเลี้ยงขุนในคอกการเลี้ยงควายเนื้อแบบทำไร่ปศุสัตว์
ใช้พื้นที่กว้างขวางมาก และมีการลงทุนปรับปรุงพื้นที่ กั้นรั้วและปลูกสร้างแปลงหญ้าเลี้ยงสัตว์ การเลี้ยงแบบนี้โดยทั่วไป เป็นการ
เลี้ยงเพื่อขยายพันธุ์ควายคุณภาพดี ราคาแพง มีการลงทุนสูงใช้วิชาการมาก ใช้โรงเรือนและเครื่องมืออุปกรณ์ไร่มาก ในเมืองไทยได้มีผู้ลงทุน ทำไร่ปศุสัตว์กันอยู่บ้าง
การต้อนเลี้ยงควายในทุ่ง เป็นการเลี้ยงแบบไล่ต้อนสัตว์ไปกินหญ้าในท้องกว้าง ซึ่งว่างเว้นจากการเพาะปลูกหรือทุ่งสาธารณะ
ผู้เลี้ยงสัตว์อาจไม่มีพื้นที่เป็นขอบเขตของตนเอง หรือพื้นที่สำหรับจัดการกักขังควายเมื่อคราวจำเป็นเท่านั้น การเลี้ยงแบบนี้ลงทุนเกี่ยวกับ
สถานที่และการลงทุนน้อยมาก โดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องมีโรงเรือนหรืออุปกรณ์มากนัก ใช้วิชาการน้อย ผู้เลี้ยงไล่ต้อนความไปเลี้ยงโดยการ
เดินเท้าหรือขี่ม้าแบบเคาบอยอเมริกันตะวันตก วัตถุประสงค์ของการเลี้ยงโดยทั่วไป เพื่อผลิตควายขาย ใช้งาน และเอาเนื้อ มีผู้เลี้ยงควาย
แบบนี้อยู่ทั่วไปในเมืองไทย การเลี้ยงแบบนี้ส่วนใหญ่เป็นการเลี้ยงควายในฝูงควายฝูงหนึ่ง ๆ มีจำนวนตั้งแต่ 200 – 300 ตัว
การเลี้ยงควายแบบขุนในคอก
เป็นการเลี้ยงควายเพื่อให้ขุนอ้วนแล้วส่งตลาดโดยเฉพาะ ควายจะถูกกักบริเวณโดยได้รับอาหารที่มีพลังงานสูง ช่วยให้อ้วนเร็ว
การเลี้ยงแบบนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ทุ่งหญ้าหรือพื้นที่ที่กว้างขวาง ส่วนใหญ่กระทำการแบบชานเมือง ในเมืองไทยไม่ค่อยมีการเลี้ยงแบบนี้
แต่ในอนาคตคาดว่า จะมีการเลี้ยงควายเกิดขึ้น เพราะราคาเนื้อแพงขึ้น ผู้บริโภคนิยมเนื้อคุณภาพสูง ราคาอาหารขุนก็ไม่แพงนัก วิชาการ
เลี้ยงควายแบบนี้แพร่หลายขึ้น พร้อมทั้งความต้องการเนื้อควายในต่างประเทศก็สูงขึ้นด้วย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : 

การเลี้ยงหมู

การเลี้ยงหมู


1. การเตรียมคอก 

     การเลี้ยงแบบเดิมจะเป็นพื้นราดปูนแข็ง เพื่อง่ายแก่การทำความสะอาด ซึ่งทำให้หมูเครียดเพราะอยู่ไม่สบาย แต่การเลี้ยงแบบนี้จะเป็นพื้นอ่อน และโรงเรือนจะต้องสัมพันธ์กับจำนวนหมู โดยให้มีขนาดคอกกว้าง 2 X 6 เมตร สามารถเลี้ยงได้คอกละ 9 ตัว เริ่มด้วยการขุดพื้นคอกลึกลงไป 90 เซนติเมตร (หรือขุดเพียง 45 ซม. แล้วเอาดินที่ขุดขึ้นมานั้นถมด้านข้างก็จะได้ความลึก 90 ซม.) ในการมุงหลังคานั้นควรให้ตีนชายคากว้างกันไม่ให้น้ำฝนสาดเข้ามาในคอก และเมื่อตีฝาคอกแล้ว ต้องใช้อิฐบล็อกหรือไม้ไผ่กั้นรอบ ๆ คอกลึกลงไปจากพื้นดินประมาณ 40 – 50 เซนติเมตร เพื่อกันไม่ให้หมูขุดออกนอกคอกได้ (การกั้นฝาคอกควรติดตั้งประตูปิด-เปิดได้ไว้ เพื่อความสะดวกในการนำหมูเข้า–ออก) สิ่งที่ต้องคำนึงก็คือบริเวณที่จะสร้างคอกไม่ควรเป็นพื้นที่ต่ำน้ำท่วมขัง และควรเป็นที่ร่มใต้ต้นไม้มีอากาศถ่ายเทได้ดี เพราะหมูเป็นสัตว์ที่ไม่ชอบอากาศร้อน

2. การเตรียมวัสดุพื้นคอก

      เมื่อขุดหลุมเสร็จ ก็ปูพื้นคอกโดยใช้แกลบ 10 ส่วน ผสมดินละเอียด 1 ส่วน เทลงก้นหลุมที่ขุดไว้ให้มีความหนา 30 ซม. แล้วใช้เกลือเม็ด 1 ถ้วยตราไก่ หรือประมาณครึ่งลิตรโรยหน้า แล้วใช้น้ำหมักชีวภาพ 2 ช้อนแกงผสมน้ำ 1 บัว (10 ลิตร) ราดให้ทั่ว ทำเหมือนเดิมอีก 2 ชั้นจนเท่าระดับพื้นดิน ช่วงนี้วัสดุพื้นคอกจะยังร้อนจากการทำงานของจุลินทรีย์ ทิ้งไว้ประมาณ 10 วันจึงนำหมูเข้าอยู่ได้ และควรราดน้ำหมักชีวภาพลงบนพื้นคอกเพิ่มเติมอีกทุก ๆ 5-7 วัน ครั้งละ 1 บัว ภายหลังจากเริ่มเลี้ยงหมูแล้ว เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยสลายสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ

3. การให้อาหารและน้ำ 

     อาหารผสม หรืออาหารสำเร็จที่เคยให้เป็นหลักนั้นจะต้องลดลง เหลือเพียงประมาณร้อยละ 30 เช่น เราเคยให้ตัวละ 2 กก. ต่อวัน ก็จะต้องเหลือแค่ตัวละ 6 ขีด ต่อวัน ส่วนอาหารที่จะให้หมูกินเป็นหลักคือผักที่มีอยู่ตามธรรมชาติทั่วไป เหมือนการเลี้ยงในสมัยก่อน เช่น หยวกกล้วย ผักเบี้ย ผักขม ผักตบชวา ยอดกระถิน ยอดข้าวโพด ใบมัน ฯลฯ โดยนำมาหั่นเป็นชิ้น ๆ แล้วแช่ในน้ำที่ผสมน้ำหมักชีวภาพไว้นานประมาณ 3 – 4 ชั่วโมง ซึ่งใช้สูตรเดียวกับน้ำที่ให้หมูกิน คือผสมน้ำหมักชีวภาพกับน้ำ ในอัตราส่วนตั้งแต่ 1 ต่อ 1,000 สำหรับหมูเล็ก, 1 ต่อ 800 สำหรับหมูรุ่นและ 1 ต่อ 500 สำหรับหมูใหญ่ หรือหมูพ่อ-แม่พันธุ์ (น้ำ 1 ปี๊บ มี 20 ลิตร หากเป็นหมูเล็กผสมแค่ 2 ช้อนโต๊ะ,หมูรุ่น ผสม 3 ช้อนโต๊ะ, หมูใหญ่ ผสม 4 ช้อนโต๊ะ)

4. การป้องกันโรค

       เนื่องจากการเลี้ยงหมูแบบต้นทุนต่ำนี้ มีน้ำหมักชีวภาพซึ่งมีจุลินทรีย์ และวิตามินจากผักเป็นตัวหลักในการเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับหมู แต่หากอาหาร หรือน้ำไม่สะอาดพอ หมูอาจมีอาการท้องเสีย หรือขี้เหลวได้ (ซึ่งปกติไม่ค่อยเกิดบ่อยนัก) ต้องรักษาโดยนำใบผรั่งสด ใบฟ้าทะลายโจรสด และเถาบอระเพ็ดเอาให้หมูกิน รวมทั้งจะต้องหาว่าเกิดจากสาเหตุอะไร เช่น อาหารและน้ำอาจไม่สะอาดพอ ก็ต้องปรับปรุงแก้ไขใหม่ นอกจากนี้ควรใช้มุ้งเขียวคลุมคอกเพื่อกันยุงตั้งแต่เย็นถึงเช้า แต่หากเป็นพื้นที่ที่มีตัวริ้นชุกชุม (โดยเฉพาะช่วงหน้าฝน) ควรนำเอาตะไคร้หอมมาทุบแช่น้ำ แล้วฉีดพ่นให้หมูในช่วงหัวค่ำ (ระวังอย่าให้เข้าตา) เนื่องจากตะไคร้หอมมีสรรพคุณช่วยไล่แมลงได้เป็นอย่างดี

วันเสาร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2558

การปลูกข้าวโพด

วิธีการปลูกข้าวโพด


ฤดูปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่เหมาะสม

·       ต้นฤดูฝน ปลูกได้ตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม-ต้นเดือนมิถุนายน ตามสภาพฝนแต่ละพื้นที่
·       ปลายฤดูฝน ปลูกได้ตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคม-กลางเดือนสิงหาคม
·       ฤดูแล้ง ปลูกได้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-เดือนกุมภาพันธ์

การเตรียมดิน สำหรับปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 

วัตถุประสงค์ของการเตรียมดิน เพื่อให้ผิวดินอ่อนตัว และห่อหุ้มเมล็ดข้าวโพดให้ชื้นอยู่เสมอ และให้ดินมีอากาศถ่ายเทสะดวก และทำลายเหง้าวัชพืชให้แห้งตายและฝังกลบซากวัชพืชเดิมให้จมดิน การไถพรวนควรไถอย่างน้อย 2 ครั้ง ภายใต้หลักการ ไถดะให้ลึก ไถแปรให้ดินแตกละเอียด
1.      ไถดะ การไถด้วยผาน 3 หรือผาน 4 ควรไถให้ลึกประมาณ 30 ซม.เพราะการไถลึก จะทำให้ดินเก็บน้ำได้มาก และตากดินไว้ประมาณ 10-15 วัน เพื่อทำลายวัชพืชและศัตรูพืชในดินบางชนิด
2.      ไถแปร ควรไถด้วยผาน 7 โดยไถขวางรอยเดิมของไถดะเพื่อย่อยดินก้อนใหญ่ให้แตก ทำให้ดินมีความร่วนซุยมากยิ่งขึ้น เพื่อให้เมล็ดพันธุ์งอกได้อย่างสม่ำเสมอ

การปลูกและระยะปลูก ทำได้ 2 วิธี ดังนี้

1.      ใช้เครื่องปลูก เลือกรูจานหยอดให้เหมาะกับขนาดของเมล็ดพันธุ์ ซึ่งจะระบุไว้ที่ถุง โดยทั่วไปจะใช้ระยะห่างระหว่างแถว 75 ซม. ระยะระหว่างหลุมประมาณ 20-25 ซม. โดยปริมาณเมล็ดที่ใช้จะประมาณ 3-3.5 กก./ไร่ และ จะมีจำนวนต้นข้าวโพด/ไร่ ประมาณ 8,533-10,600 ต้นต่อไร่ ควรหยอดเมล็ดข้าวโพดให้ลึก 2.5-3 นิ้ว
2.      ใช้คนปลูก ในหลายพื้นที่โดยเฉพาะทางภาคเหนือ จะใช้เชือกในการกำหนดระยะให้มีระยะห่างระหว่างร่องประมาณ 70 ซม. แล้วใช้จอบขุด หยอดเมล็ด 1-2 เมล็ดแล้วกลบ โดยจำนวนเมล็ดที่หยอดและระยะห่างระหว่างหลุม ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ว่า สายพันธุ์นั้นเหมาะกับการปลูกถี่ได้ดีเพียงใด
  

การใส่ปุ๋ย 

แบ่งได้ 2 ครั้ง เพื่อให้มีธาตุอาหารเพียงพอกับการสร้างผลผลิตได้เต็มที่ ดังนี้

1.      ปุ๋ยรองพื้น ควรใส่รองก้นหลุม หรือโรยเป็นแถวแล้วกลบพร้อมปลูก ใช้ปุ๋ยสูตร 16-20-0 หรือ 15-15-15 ในปริมาณ 20 กิโลกรัม/ไร่
2.      ปุ๋ยยูเรีย เมื่อข้าวโพดมีอายุ 25-30 วัน ควรมีการใส่ปุ๋ยอีกครั้งหนึ่ง โดยใช้ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 ในปริมาณ 20-25 กิโลกรัม/ไร่
ข้อแนะนำ ควรใส่ปุ๋ยพร้อมกับการกำจัดศัตรูพืชเมื่อข้าวโพดอายุได้ 20-35 วัน หรือสูงแค่เข่า โดยใส่แบบโรยข้างแถวให้ห่างจากโคนต้นประมาณ 1 คืบ แล้วใช้ดินกลบ

การใส่ปุ๋ยให้เหมาะกับดิน

          ดินเหนียวสีดำ  ถ้ามีฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์สูงกว่า 10 ส่วนในล้านส่วน ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 21-0-0 อัตรา 50กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูตร 46-0-0 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่  โดยโรยข้างแถวหลังปลูก 20-25 วัน ถ้าฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่ำกว่า 10 ส่วนในล้านส่วน ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 20-20-0 อัตรา 40 กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูตร 16-20-0 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ รองก้นร่องพร้อมปลูก และให้ปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูตร 21-0-0 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ โรยข้างแถวหลังปลูก20-25 วัน  แล้วพรวนดิน
          ดินเหนียวสีดำ  ถ้ามีฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์สูงกว่า 10 ส่วนในล้านส่วน ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 21-0-0 อัตรา 50กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูตร 46-0-0 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่  โดยโรยข้างแถวหลังปลูก 20-25 วันถ้าฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่ำกว่า 10 ส่วนในล้านส่วน ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 20-20-0 อัตรา 40 กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูตร 16-20-0 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ รองก้นร่องพร้อมปลูก และให้ปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูตร 21-0-0 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ โรยข้างแถวหลังปลูก20-25 วัน  แล้วพรวนดินกลบ
ดินเหนียวสีแดง ดินเหนียวสีน้ำตาล หรือดินร่วนเหนียวสีน้ำตาล  ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0 หรือ 16-16-8อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ รองก้นร่องพร้อมปลูก และให้ปุ๋ยเคมีสูตร 21-0-0 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูตร 46-0-0 อัตรา 10กิโลกรัมต่อไร่ โรยข้างแถวหลังปลูก 20-25 วัน แล้วพรวนดินกลบ
ดินร่วน หรือดินร่วนทราย  ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 หรือสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ รองก้นร่องพร้อมปลูก และปุ๋ยเคมีสูตร 21-0-0 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ โรยข้างแถวหลังปลูก 20-25 วัน แล้วพรวนดินกลบ

ผลจากการวิเคราะห์พบว่า ผลผลิตข้าวโพดทุก ๆ 100 กิโลกรัมจะสูญเสียธาตุอาหารหลักไปกับเมล็ด คือ ไนโตรเจน1.59 กิโลกรัม ฟอสฟอรัส 0.38 กิโลกรัม โพแทสเซียม 0.51 กิโลกรัม ส่วนตอซังจะสูญเสีย ไนโตรเจน 0.77 กิโลกรัม ฟอสฟอรัส 0.11 กิโลกรัม โพแทสเซียม 1.62 กิโลกรัม ดังนั้นจึงไม่ควรเผาต้นหรือนำตอซังไปทิ้ง ควรไถกลบลงดินเป็นปุ๋ยพืชสด


วิธีการเก็บเกี่ยว

1. เก็บเกี่ยวโดยใช้แรงงานคน
    1.1  วิธีการเก็บใช้ไม้ปลายแหลมแทงเปลือกบริเวณปลายฝัก  ต้องระวังอย่าให้โดนเมล็ดปอกเปลือกแล้วใส่ในตะกร้า หรือ กระสอบป่าน หรือวางกองไว้บนผ้าพลาสติกหรือใช้ซากต้นข้าวโพดรองพื้น
    1.2  เก็บเกี่ยวโดยหักข้าวโพดทั้งเปลือกแล้วจึงมาแกะเปลือกภายหลัง  หรือเก็บไว้ทั้งเปลือก  การเก็บเกี่ยววิธีนี้ทำได้เร็ว  ช่วยป้องกันไม่ให้เมล็ดเกิดแผลหรือเมล็ดร้าวในระหว่างทำการเก็บเกี่ยวหรือขนย้าย  นอกจากนี้  เปลือกยังช่วยป้องกันไม่ให้ เชื้อรา และแมลงสัมผัสเมล็ดโดยตรง  การเก็บเกี่ยวโดยใช้แรงงานคน  ไม่ควรวางฝักข้าวโพดบนพื้นที่ชื้นแฉะ  อย่าโยนฝักข้าวโพดเพราะทำให้เกิดบาดแผลบนผิวของเมล็ดหรือเมล็ดร้าว  ทำให้เชื้อราเข้าทำลายเมล็ดได้ง่าย  ขณะเก็บเกี่ยว  ให้แยกฝักเน่าหรือมีเชื้อราเข้าทำลายออกจากฝักดี  และเผาทำลายฝักเน่าและฝักที่มีเชื้อรา

2.  เก็บเกี่ยวโดยใช้เครื่องมือ 
            การเก็บเกี่ยวโดยใช้เครื่องมือ ได้แก่  เครื่องปลิดฝักข้าวโพด  (corn snapper)  เครื่องปลิดและรูดเปลือกหุ้มฝักข้าวโพด  (corn picker-husker)  และเครื่องเกี่ยวนวดข้าวโพด  (corn picker-Sheller  หรือ  corn combine harvester) เครื่องชนิดนี้จะปลิดฝักข้าวโพดจากต้นแล้วสีออกเป็นเมล็ด  การใช้เครื่องเก็บเกี่ยวมีข้อดีในกรณีขาดแคลนแรงงาน  ทำให้ค่าจ้างเก็บเกี่ยวสูง  สามารถเก็บเกี่ยวได้อย่างรวดเร็ว  และอาจทำให้ทันปลูกในฤดูฝน  แต่มีข้อเสียตรงที่ต้องเก็บเกี่ยวในพื้นที่ราบและสม่ำเสมอ  ต้นข้าวโพดหักล้มน้อย  ยังมีอัตราการสูญเสียเนื่องจากฝักเก็บเกี่ยวไม่หมด  และมีการแตกหักของฝักและเมล็ด ทำให้เชื้อราเข้าทำลายได้ง่าย  นอกจากนี้ การเก็บเกี่ยวข้าวโพดที่ปลูกในต้นฤดูฝนอาจจะทำให้รถเข้าไปเก็บเกี่ยวได้ลำบากเพราะดินเปียกโดยเฉพาะรถเก็บเกี่ยวที่มีขนาดใหญ่  รถเก็บเกี่ยวยังมีราคาค่อนข้างแพง  และไม่คุ้มค่าที่เกษตรกรรายเล็กจะซื้อไว้ประจำฟาร์ม  จึงมีการจ้างเหมารถเก็บเกี่ยวโดยคิดราคาต่อกิโลกรัม  หรือจ้างเหมาเป็นไร่ในบางจังหวัด

ขอขอบคุณข้อมูลจาก   http://www.pioneer.com/web/site/thailand/resources/indiv-tech-sheets/