วันอังคารที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2558

การปลูกเงาะ

การปลูกเงาะ


วิธีการปลูกเงาะ
หลังจากที่ขุดดิน หรือไถพรวนที่ดินสำหรับปลูกเงาะเรียบร้อยแล้วก็กะระยะการปลูกเงาะได้ทันที ควรขุดหลุมเป็นวงกลมกว้างประมาณ 80 ซ.ม. ลึก 60 ซ.ม. ปล่อยให้หลุมตากแดดไว้ประมาณ 6-7 วัน แล้วใช้หญ้าแห้งรองก้นหลุมบ้างเล็กน้อยหากจะมีปุ๋ยคอก เช่น มูลโค กระบือ ฯ หรือปุ๋ยดินฟอสเฟตใส่ให้บ้างรองก้นหลุมก็จะดียิ่งขึ้น จากนั้นก็ทำการปลูกเงาะลงในหลุมได้ ระยะของการปลูกเงาะ การปลูกเงาะก็เพื่อต้องการผล จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปลูกให้มีระยะปลูกห่างกันอย่างเพียงพอ ทั้งนี้ปล่อยโอกาสให้ทรวดทรงของต้นเงาะแผ่กิ่งก้านสาขาได้อย่างเต็มที่ระยะที่ปลูกเงาะที่เหมาะสมควรจะเป็น 16 เมตร ทั้งระหว่างต้นและระหว่างแถวหรืออย่างน้อยที่สุดก็ควรเป็น 12 เมตร เป็นอย่างต่ำที่สุด ดังนี้ในเนื้อที่ 1 ไร่ ก็จะปลูกเงาะได้ราว 9-16 ต้นเป็นอย่างมาก

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :http://www.thaikasetsart.com/

การปลูกมะขา

การปลูกมะขาม



      การปลูกมะขามเปรี้ยวที่ไร่จะแนะนำให้ปลูกโดยใช้ระยะปลูก 10 x 10 เมตร  หรือ 5×5 วา (ระยะห่างของแถว 10 เมตร ระยะห่างของต้น 10 เมตร) ไร่หนึ่งจะปลูกได้   16 ต้น/ไร่ เพราะมะขามเป็นไม้ผลที่เก็บกินในระยะยาวเป็นร้อยๆ ปี จึงต้องห่วงถึงอนาคต เพราะถ้าปลูกในระยะที่ชิดกันมาก จะมีผลต่อทรงพุ่มของมะขามเปรี้ยว เพราะมะขามเปรี้ยวชอบที่แจ้งแดดมาก น้ำน้อย เพราะถ้าปลูกในระยะที่ชิดกันมาก จะมีผลต่อทรงพุ่มของมะขามเปรี้ยว เพราะมะขามเปรี้ยวชอบที่แจ้งแดดมาก น้ำน้อย ถ้าปลูกในที่ร่มมะขามจะไม่โตและไม่ติดฝักให้และถ้าบำรุงรดน้ำใส่ปุ๋ยมากจนเกินไปก็จะไม่ติดฝัก ต้นจะสวยแต่บ้าใบ คือให้แต่ใบอย่างเดียว

ส่วนการเตรียมหลุมลงปลูกสำหรับดินที่มีความแน่นหรือแห้งแข็ง ในช่วงแรกให้ขุดหน้าดินให้กว้าง50 เซนติเมตร ลึก 50 เซนติเมตร หาเศษหญ้า ปุ๋ยคอก (ขี้วัว) มารองก้นหลุม ถ้าดินในที่นั้นแห้งแล้งน้ำน้อยให้กากมะพร้าวชิ้นใหญ่ๆ ลงไปที่ก้นหลุมด้วยกลบดินตามเดิม แล้วขุดดินขึ้นมาแค่ 1 หน้าจอบ แล้วนำต้นพันธุ์มะขามเปรี้ยวยักษ์ลงปลูกให้ระดับดินอยู่ใต้ผ้าทาบ 1 อาทิตย์ หลังจากลงปลูกจึงกรีดผ้าทาบออก ต้องหาไม้มาช่วยค้ำต้นกันลมโยกต้น รดน้ำวันละ 1 ครั้งในช่วงแรกๆ หลังจากนั้นค่อยทิ้งช่วง ประมาณ 6 เดือน หลังจากลงปลูกให้ใส่ปุ๋ยคอกแต่ถ้าไม่มีก็ให้ใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 อัตราส่วน 100-200 กรัม   / 1ต้น ใน 1 ปีแรกแบ่งเป็น 2 ครั้ง คือ 6 เดือน ต่อ ครั้ง  จำนวน 100,200 กรัม ตามลำดับ สำหรับปีต่อๆ ไปให้เพิ่มปุ๋ยมากขึ้นตามทรงพุ่มของต้น
การดูแลเหมือนไม้ผลทั่วๆ ไป หลังจาก 2 ปีขึ้นปีที่ 3 ถ้าอยากให้มะขามติดฝักหยุดน้ำหยุดปุ๋ยให้ต้นสลัดใบในช่วงหน้าร้อน พอต้นฝน ฝนตกลงมาต้นมะขามก็จะแตกในใบอ่อนให้ใหม่และออกดอกติดฝักให้ หลังจากออกดอกติดฝักให้บำรุงรดน้ำใส่ปุ๋ยและเด็ดฝักอ่อนทิ้งบ้างถ้าเกิดช่วงปีแรกเราเก็บฝักไว้เยอะเกินไป จะทำให้ต้นโทรมได้ เพราะเมื่อมะขามติดฝักแล้วต้นจะเริ่มโตช้าลงเพราะมะขามจะนำอาหารไปเลี้ยงฝักหมด
เมื่อมะขามให้ฝักเราสามารถใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15 โดยแบ่งใส่ 2-3 ครั้ง พร้อมกับขี้วัวจะช่วยให้ฝักใหญ่มีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น นอกจากปุ๋ยเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของต้นมะขามแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือน้ำในระยะปลูกใหม่ ถ้าฝนไม่ตกต้องมีการรดน้ำทุก 1-2 วัน (ขึ้นอยู่กับสภาพของดิน) หรือประมาณ 1 สัปดาห์ จนกว่ามะขามยักษ์จะเริ่มเป็น จากนั้นจึงเว้นช่วงไม่ต้องมีการรดน้ำบ่อยให้ทิ้งห่างเป็น 7-10 วันต่อครั้ง เฉพาะในช่วงฤดูแล้วของปีแรก

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :https://acer2554.wordpress.com/category

วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2558

การปลูกแตงกวา

การปลูกแตงกวา



การเตรียมแปลง
          การเตรียมดินควรมีการยกร่องลูกฟูกความสูงประมาณ 20-30 เซนติเมตร เพื่อให้สะดวกในการระบายน้ำโดยเฉพาะฤดูฝน  และมีการคลุมฟางหน้าดิน เพื่อป้องกันผลแตงกวาสัมผัสพื้นดิน ซึ่งจะทำให้ผลมีสีเหลืองและไม่ได้ราคา
การปลูก
วิธีการปลูกแตงกวานั้น พบว่ามีการปลูกทั้งวิธีการหยอดเมล็ดโดยตรงและเพาะกล้าก่อนแล้วย้ายปลูก การหยอดเมล็ดโดยตรงนั้นอาจจะมีความสะดวกในการปลูก แต่มีข้อเสียคือสิ้นเปลืองเมล็ด หากใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมซึ่งมีราคาแพงแล้ว จะเกิดความสูญเสียเปล่าและเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิต รวมทั้งวิธีการหยอดเมล็ดนี้จำเป็นที่จะต้องดูแลระยะเริ่มงอกในพื้นที่กว้าง ดังนั้นการใช้วิธีการเพาะกล้าก่อน จึงมีข้อดีหลายประการ อาทิเช่น ประหยัดเมล็ดพันธุ์ ดูแลรักษาง่าย ต้นกล้ามีความสม่ำเสมอ ประหยัดค่าแรงงานในระยะกล้า เป็นต้น
สำหรับการย้ายกล้าปลูกนั้น ให้ดำเนินการตามกระบวนการเพาะกล้าตามที่กล่าวแล้ว และเตรียมหลุมปลูกตามระยะที่กำหนด จากนั้นนำต้นกล้าย้ายปลูกลงในหลุม ตามระยะระหว่างต้นและระหว่างแถวตามที่ได้กำหนดไว้ โดยการฉีกถุงพลาสติกที่ใช้เพาะกล้าออกแล้วย้ายลงในหลุมปลูก ช่วงเวลาที่จะย้ายกล้านั้นควรย้ายช่วงประมาณเวลา 17.00 นจะทำให้ปฏิบัติงานในไร่นาได้สะดวกและต้นกล้าสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดียิ่งขึ้น

การปลูกเห็ดฟาง

การปลูกเห็ดฟาง




เห็ดฟางเป็นเห็ด ที่เพาะง่าย ใช้เวลาสั้น 5-7 วัน ก็เก็บดอกเห็ดที่เพาะได้ เป็นเห็ดที่มีผู้ นิยมบริโภคมาก ทำให้ความต้องการของตลาดสูง ซึ่งทำให้มีราคาดีตลอดปี จึงมี ผู้นิยมเพาะเห็ดฟางกันมาก
การเพาะเห็ดฟางกองเตี้ย มีการพัฒนามาจากการเพาะแบบกองสูง ซึ่งเป็นการ ประหยัดวัสดุเพาะและง่ายต่อการดูแล สามารถให้อาหารเสริม และให้ผลผลิตที่แน่ นอน
วัสดุอุปกรณ์และขั้นตอนการเพาะเห็ดฟางกองเตี้ย:
1. การเตรียมดินบริเวณเพาะเห็ด ควรขุดดินและย่อยให้ละเอียดไว้ก่อน และรดน้ำให้ดินเปียกชุ่ม บริเวณพื้นดินรอบ ๆ กองเพาะเห็ดจะได้เห็ดเพิ่มจากฟางบนกองเพาะเห็ดอีกจำนวนหนึ่ง
2. ไม้แบบ ไม้แบบเพาะเห็ดใช้ไม้กระดานมาทำเป็นแบบแม่พิมพ์ โดยมีความกว้าง 120 เซนติเมตร สูง 30 เซนติเมตร ด้านล่างกว้าง 30 เซนติเมตร ด้านบนกว้าง 25 เซนติเมตร
3. วัตถุดิบในการเพาะเห็ด จะนิยมฟางข้าวเพราะหาง่ายและมีจำนวนมาก จะใช้ฟางทั้งต้น หรือฟางข้าวนวดก็ได้ ยังมีวัตถุดิบอีกหลายชนิดที่ใช้เพาะเห็ดฟางได้ เช่น เปลือกของฝักถั่วเขียว ถั่วเหลือง ต้นถั่ว เปลือกผิวมันสำปะหลัง ผักตบชวา เศษต้นพืช ต้นหญ้า ปัจจุบันใช้ขี้เลื่อยจากการเพาะเห็ดถุงพลาสติก และผักตบชวาก็ให้ผลผลิตดีเท่ากับฟาง วัตถุดิบที่ใช้ในการเพาะเห็ด ต้องนำไปแช่น้ำให้เปียก ใช้เวลาในแช่ประมาณ 30 นาที ก็นำไปเพาะเห็ดได้
4. อาหารเสริม การเพิ่มอาหารเสริมจะเป็นการเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้น ที่นิยมคือไส้นุ่น เปลือกฝักถั่ว ผักตบชวา จอกหูหนู มูลสัตว์ที่แห้งเช่นขี้ควาย ก่อนใช้ต้องแช่ให้ชุ่มน้ำเสียก่อน
5. เชื้อเห็ด เชื้อเห็ดฟางที่นำมาใช้ควรมีอายุ 5-10 วัน จะเห็นเส้นใยเจริญเติบโตเต็มถุงสีขาว ถ้าเส้นใยแก่จะมีสีเหลืองเข้ม หรือมีดอกเห็ดเจริญในถุงเชื้อ ไม่ควรนำไปใช้ และต้องไม่มีศัตรูเห็ด เช่น ตัวไร ไม่มีเชื้อราชนิดอื่นปนอยู่ เช่น ราเขียว ราเหลือง ราดำ หรือเชื้อราชนิดอื่นที่ไม่ไช่เชื้อเห็ด และมีกลิ่นหอมของเห็ด
6. วัสดุคลุมแปลงเพาะเห็ด โดยทั่วไปจะใช้ผ้าพลาสติกคลุม เป็นการควบคุมความชื้นและรักษาอุณหภูมิให้เหมาะสมต่อการเจริญของเห็ด ถ้าเพาะในที่โล่งแจ้งจะใช้ฟาง ใบมะพร้าว ใบตาล เพื่อป้องกันแสงแดด
ขั้นตอนการเพาะเห็ดฟางกองเตี้ย :
เมื่อมีการจัดเตรียมสถานที่และวัสดุเรียบร้อยแล้ว ก็เริ่มทำการเพาะเห็ดชั้นแรก โดยเห็ดฟางกองเตี้ยจะทำทั้งหมด 4 ชั้น
การเพาะชั้นที่ 1
1. นำไม้แบบหรือแม่พิมพ์เพาะเห็ดวางบนพื้นที่เตรียมไว้ นำฟางที่แช่น้ำใส่ลงในไม้แบบขึ้นย่ำพร้อมรดน้ำจนแน่นพอดี และให้มีความหนาประมาณ 10 เซนติเมตร
2. นำอาหารเสริมที่ชุ่มน้ำ โรยรอบขอบไม้แบบบนฟางบาง ๆ ทั้งสี่ด้าน
3. ใส่เชื้อเห็ด เชื้อเห็ดฟาง 1 ถุง มีน้ำหนักประมาณ 2 ขีด ขยี้เชื้อเห็ดให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย แล้วแบ่งเป็น 4 ส่วน นำส่วนที่ 1 โรยลงบนอาหารเสริมให้ทั่วทั้งสี่ด้าน
การเพาะชั้น 2-4 ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับชั้นที่ 1 จนครบ 4 ชั้น
สำหรับชั้นที่ 4 ซึ่งเป็นชั้นบนสุดให้โรยอาหารเสริมและเชื้อเห็ดให้ทั่วผิวหน้าของแปลง แล้วนำฟางแช่น้ำมาคลุมหนาประมาณ 2-3 เซนติเมตร ใช้มือกดให้แน่นพอสมควร
4. ยกแบบไม้ออก ควรยกด้านหัวและท้ายพร้อม ๆ กัน นำไปเพาะแปลงต่อ ๆ ไป โดยแต่ละกอง แปลงเพาะเห็ดให้ห่างกันประมาณ 10-15 เซนติเมตร
5. ช่องว่างระหว่างแปลงเพาะเห็ดให้โรยอาหารเสริมและเชื้อเห็ด บนดินคลุมด้วยฟางบาง ๆ
6. คลุมแปลงเพาะเห็ดด้วยผ้าพลาสติก ถ้าทำหลาย ๆ กองให้คลุมผ้าพลาสติก ยาวตลอดทุกแปลงเป็นผืนเดียวกัน
7. นำฟางแห้ง คลุมทับบนผ้าพลาสติกอีกครั้ง
การดูแลรักษาแปลงเพาะเห็ด:
1. การคลุมผ้าพลาสติกแปลงเพาะเห็ด เป็นการรักษาอุณหภูมิและความชื้นให้เหมาะสมต่อการเจริญของเชื้อเห็ด โดยในวันที่ 1-3 ไม่ต้องเปิดผ้าพลาสติกเลย
2. เมื่อถึงวันที่ 3 ให้เปิดผ้าพลาสติก เพื่อเป็นการระบายอากาศปล่อยไว้ประมาณ 1 เซนติเมตร (ในระยะนี้จะสังเกตเห็นเส้นใยของเห็ดเจริญบนอาหารเสริมและฟาง ยังไม่เกิดตุ่มดอก)
3. นำฟางแห้งคลุมทับบนแปลง หนาประมาณ 3-5 เซนติเมตร แล้วคลุมทับด้วยผ้าพลาสติกเดิมบนฟาง แล้วปิดทับด้วยวัสดุป้องกันแสงบนผ้าพลาสติกอีกครั้ง อาจจะเป็นใบมะพร้าวแผงหญ้าคา หรือฟางแห้งก็ได้
4. ต่อจากวันที่ 4 ของการเพาะให้เปิดแปลงเพาะเห็ดทุกวันเป็นการระบายอากาศและดูแลการเจริญ ของดอกเห็ด ในวันที่ 5 จะเห็นตุ่มเห็ดสีขาวเล็ก ๆ บนฟางของแปลงเพาะเห็ด
5. ในระยะนี้ถ้ากองเห็ดแห้งให้รดน้ำเบา ๆ เป็นฝอยละเอียดบนฟางคลุมกองและรอบกองห้ามรดน้ำแปลงเพาะเห็ดเด็ดขาด จะทำให้ดอกเห็ดฝ่อและเน่า ถ้าเป็นฤดูฝนควรคลุมผ้าพลาสติกให้มิดชิด และทำร่องระบายน้ำรอบแปลงเพาะเห็ด
6. ดอกเห็ดจะพัฒนาเจริญเติบโต และเก็บผลผลิตได้ราวันที่ 7-9 วันของการเพาะเห็ด แล้วเก็บดอกเห็ดได้ราว 2-3 วัน ต่อจากนี้ไปจะได้ผลผลิตน้อย (ถ้าใช้ฟาง 10 กิโลกรัม จะได้ดอกเห็ด 1-2 กิโลกรัม)
การเก็บเกี่ยวเห็ดฟาง :

การเก็บดอกเห็ดจะนิยมเก็บในตอนเช้า ๆ เพราะดอกเห็ดจะตูมเต็มที่ในช่วงตี 3-4 ถ้าช้ากว่านี้ดอกเห็ดจะบานจะขายไม่ได้ราคา การเก็บดอกให้ใช้มือจับตรงโคนดอกโยกนิดหน่อยแล้วดึงออกมา ถ้าติดกันหลาย ๆ ดอกให้เก็บทั้งหมด อย่าให้มีชิ้นส่วนขาดหลงเหลืออยู่จะทำให้เน่าและเป็นสาเหตุการเน่าเสีย ของดอกเห็ดได้

การเลี้ยงเป็ดไข่

การเลี้ยงเป็ดไข่


การเลี้ยงดู
ควรเริ่มด้วยการเลี้ยงเป็ดสาวอายุประมาณ 18 – 20 สัปดาห์ ลักษณะโรงเรือนเลี้ยงเป็ดควรทำจากวัสดุที่หาได้ง่ายหรือมีในท้องถิ่นโรงเรือนควรตั้งอยู่ในแนวทิศตะวันออก – ตก ต้องสามารถกันแดดกันฝนได้ และมีลานปล่อยอยู่ด้านนอก เพื่อปล่อยให้เป็ดออกหาอาหารตามธรรมชาติกินและได้ออกกำลังกาย พื้นที่โรงเรือนเลี้ยงเป็ด ขนาด 1 ตารางเมตร จะเลี้ยงเป็ดไข่ได้ 5 ตัว เป็ดจะเริ่มไข่เมื่ออายุ 21 สัปดาห์ ในระยะนี้เป็ดต้องการอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงมีโปรตีนประมาณ 18 เปอร์เซ็นต์ ให้เป็ดกินอาหารอย่างเต็มที่ โดยเฉลี่ยประมาณ 150 กรัมต่อตัวต่อวัน ต้องทำความสะอาดที่ให้น้ำก่อนทุกครั้ง และต้องมีน้ำให้เป็ดได้กินตลอดเวลา การเลี้ยงในช่วงเป็ดกำลังไข่ต้องพิถีพิถันระมัดระวังเป็นอย่างมากเพราะถ้าเป็ดตกใจหรือได้รับความเครียดจะทำให้ผลผลิตน้อยลง อาหารสำหรับเลี้ยงเป็ด โดยทั่วไปจะนิยมอาหารสำเร็จรูปที่มีขายในท้องตลาดทั่วไป หรืออาจนำเอาวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นมาผสมใช้เองตามสูตร ในการผสมใช้เองเกษตรกรจะต้องหลีกเลี่ยงการใช้ข้าวโพดเป็นอาหารสัตว์ ถ้าจะใช้ผสมเป็นอาหารใช้ในปริมาณน้อยและต้องแน่ใจว่าเป็นข้าวโพดคุณภาพดีปราศจากเชื้อรา เนื่องจากเชื้อราจะสร้างสารพิษที่เป็นอันตรายกับเป็ด ทั้งนี้ ควรนำอาหารธรรมชาติหรือเศษเหลือจากอาชีพการเกษตร เช่น แหน ผัก หอยเชอรี่ หรือผลพลอยได้จากโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร มาใช้ประโยชน์เพื่อลดต้นทุนการผลิต ทำให้มีโอกาสได้กำไรมากขึ้น แม่เป็ดแต่ละตัวจะให้ใช้ได้ปีละประมาณ 240 – 260 ฟอง และปลดระวางเมื่อแม่เป็ดให้ใช้ได้ประมาณ 1 ปี

การปลูกดอกดาวกระจาย

การปลูกดอกดาวกระจาย


วิธีการปลูกและดูแล :

  ดินที่เหมาะสม ดินทุกชนิดไม่มีข้อมูลไม่มีข้อมูล ต้องการน้ำปานกลาง ควรปลูกในที่มีแสงทั้งวัน

วิธีการขยายพันธุ์ :

  เพาะเมล็ด  

การเลี้ยงไก่บ้าน

การเลี้ยงไก่บ้าน



               การเลี้ยงไก่บ้านเพื่อเป็นอาชีพเสริมทำที่บ้าน มีข้อจำกัดก็คือต้องมีพื้นที่บริเวณบ้านเพื่อให้ไก่ได้ออกหากินตามธรรมชาติ ไม่มีสัตว์เลี้ยงอย่างเช่นสุนัขคอยรบกวน
อาจทำโรงเรือนเล็กๆไว้ให้ไก่นอนหรือเป็นที่หลบแดดหลบฝนและเป็นที่สำหรับทำรังให้ไก่ไข่ หากต้องการจำกัดพื้นที่เพื่อให้ดูแลง่ายอาจใช้ตาข่ายซึ่งมีขายอยู่ทั่วไปล้อมบริเวณโรงเรือนและพื้นที่ที่ต้องการให้ไก่ได้เดินเล่นและออกหากินตามธรรมชาติ
หากต้องการให้ไก่โตเร็วและมีน้ำหนักดี นอกจากให้อาหารอย่างเช่น ข้าวเปลือก ถั่ว ข้าวโพด และอาหารอื่นๆแล้ว ควรให้หัวอาหารผสมกับรำข้าวบ้างเป็นบางครั้ง การเลี้ยงไก่พื้นเมืองเพื่อขยายพันธุ์ควรเลี้ยงหลายๆสายพันธุ์เพราะเมื่อผสมพันธุ์กันแล้วจะทำให้ได้ลูกไก่ที่เจริญเติบโตเร็ว น้ำหนักดี ไก่พื้นเมืองตลาดไม่ตันและมีความต้องการมากเพราะคนนิยมทาน ราคาดี